โรคสะเก็ดเงิน (PSORIASIS)

กรกฎาคม 28, 2021

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการ โดยมีอาการทางผิวหนังที่มีการอักเสบเรื้อรัง ที่เกิดจากการทำงานของเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ ผิวหนังมีการแบ่งตัวเร็วขึ้น แต่ไม่มีการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ ไม่ใช่โรคติดต่อ โรคสะเก็ดเงินมักจะกำเริบเป็นช่วงๆ และมีระยะสงบได้

ลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน

ผื่นของโรคสะเก็ดเงินจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดงค่อนข้างหนามีขุยสีขาว คล้ายรังแคติดที่ผิวแต่มักจะรุนแรงกว่า มีสะเก็ดหนาและกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยร้อยละ80ของผู้ป่วยผื่นสะเก็ดเงินมักเริ่มต้นที่ศีรษะก่อนจะกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณศอกและเข่า ลำตัว หรือตำแหน่งที่มีการเกาหรือเสียดสี ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอาจจะมีอาการคันร่วมด้วยแต่ไม่รุนแรง

การรักษาโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรัง การใช้ยาเป็นการควบคุมโรคไม่ให้ลุกลาม และให้โรคสงบ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีสิ่งมากระตุ้นโรคจะสามารถกำเริบได้อีก การรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย

1. การใช้ยาทาเฉพาะที่

  • Triamcinolone acetonide หรือ Coal tar (น้ำมันดิน) เพื่อลดการอักเสบ
  • Petroleum liquid paraffin เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง
  • Urea cream หรือ Salicylic acid เพื่อละลายขุยที่หนา ให้บางลง
  • Tar shampoo ในรายที่มีผื่นบริเวณหนังศีรษะ

*** ตัวยามักมีข้อจำกัดในการใช้ จึงควรใช้ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของแพทย์

2. การใช้ยาชนิดกิน

ในรายที่มีอาการมากหรือรุนแรง แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาชนิดกิน เช่น Metrotrexate, Cyclosporin หรือ ยาอื่นๆ เพื่อช่วยควบคุมโรคไม่ให้กำเริบมากขึ้น รวมถึงยาที่ช่วยรักษาอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น ปวดข้อ , คัน เป็นต้น

3. การฉายแสง Photochemotherapy-PUVA

   การฉายแสงร่วมกับยากิน Psoraren เป็นการยับยั้งการแบ่งเซลล์ แต่อาจจะมีผลข้างเคียง เช่น สีผิวผิดปกติ, คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ 

ปัจจัยของการกำเริบโรคสะเก็ดเงิน

  1. ความเครียด
  2. พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก
  3. การติดเชื้อบางชนิด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการสะเก็ดเงิน
  4. การแกะและเกา
  5. การดื่มสุราและสูบบุหรี่
  6. น้ำหนักเกิน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงโรคสะเก็ดเงิน

  1. เนื้อแดง และผลิตภัณฑ์นม
  2. .Gluten
  3. อาหารแปรรูป
  4. ผักและผลไม้บางชนิด เช่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง มะเขือ พริกหยวก
  5. แอลกอฮอล์

อาหารที่ควรรับประทานโรคสะเก็ดเงิน

  1. ผักและผลไม้ เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอกและกะหล่ำปลีผักใบเขียวเช่นผักคะน้า ผลไม้ตะกูล บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่น ผลไม้สีเข้มอื่นๆ
  2. ไขมันจากปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาโทรด ปลาคอท
  3. น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพและหัวใจ
  4. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น น้ำมันปลา วิตามินD วิตามินB-12 และ ซีลีเนียม

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นที่เกิดจากการแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง ดังนั้น จะมีระยะเวลาที่โรคสงบและกำเริบ สลับวนเวียนกันไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต และกานรับประทานอาหาร มีส่วนสำคัญในการช่วยบรรเทาอาการได้ หากมีการควบคุมอาหารที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ก่อการอักเสบ เช่น เนื้อสัตว์นมและอาหารแปรรูป การงดอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดความถี่ความรุนแรงของการกำเริบของโรคสะเก็ดเงินได้ รวมทั้งวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ในการใช้ยาต่างๆ เพื่อควบคุมโรคไม่ให้ลุกลาม ช่วยให้ผื่นยุบจาง และมีระยะสงบของโรคได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น