ความดันเลือดสูง

กุมภาพันธ์ 21, 2018

บ่อยครั้ง เราจะได้ยินหมอพูดว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่วัดความดันเลือดแล้วสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท แปลว่า เป็นโรคความดันเลือดสูง คนไข้จะต้องได้รับยาลดความดันไปกิน และต้องกินไปตลอดชีวิต! แต่เราลองคิดดูสิว่า แล้วทพไมจู่ๆ ความดันถึงสูงล่ะ? อะไรที่เป็นสาเหตุกันแน่? แน่นอนเราต้องได้รับการตรวจร่างกาย เจาะเลือด และอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ แต่มากกว่า80%ของคนไข้ มักหาอะไรไม่เจอ นอกจากความดันที่สูงขึ้นเท่านั้น งั้นเราลองมาดูระบบการทำงานของร่างกายว่า เหตุใด ? ความดันโลหิตจึงสูงขึ้น อาจเป็นไปได้ว่า ความรับเลือดสูงที่เราวัดกัน มี2ค่า ค่าแรกหมายถึงความดัน systolic blood pressure ที่สัมพันธ์กับแรงบีบของหัวใจ กรณีที่หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น ความดันนี้ก็จะสูงขึ้น ส่วนอีกค่าหนึ่งคือ diastolic blood pressure เป็นความดันในช่วงหัวใจคลายตัว ซึ่งสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นของหลอดเลือด

กรณีที่หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง หรือมีบางอวัยวะหรือเซลล์บางบริเวณที่ได้รับเลือดไม่เพียงพอ ร่างกายจะมีกลไกต่างๆเพื่อให้แรงดันเลือดกลับมาเป็นปกติ ซึ่งภาวะนี้อาจถูกกระตุ้นตลอดเวลาเพื่อสูบฉีดเลือดไปให้ถึงอวัยวะหรือเซลล์ที่มีปัญหาเหล่านั้น จึงเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ดังนั้น การลดความดันด้วยการทานยาเพื่อหวังจะลดค่าแรงดันเลือด อาจไม่ใช่การแก้ไขสาเหตุเพราะยิ่งทำให้ความดันลดลง อวัยวะที่ขาดเลือดก็ยิ่งไม่ได้รับเลือด จนอาจทำให้เกิดอาการต่างๆขึ้นมาได้เช่น อาการปวดศีรษะ มือเท้าชา ขี้หนาว เหนื่อยเพลีย อ่อนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจไม่สามารถตรวจเช็คได้จากเครื่องมือต่างๆ เพราะเป็นเพียงระบบการทำงานผิดปกติ ดังนั้น การกินยาอะไรก็ตาม ล้วนมีผลกระทบโดยรวมกับร่างกาย พิจารณาให้ดีก่อนทานยา และการสาเหตุน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการทานยาเพื่อกดหรือลดอาการเหล่านั้นไว้ จนมีผลให้เกิดอาการอื่นๆตามมา จนกลายเป็นโรคใหม่ ปัญหาใหม่ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แนวทางการรักษาโรคความดันเลือดสูงแบบองค์รวม คือการรักษาโรคด้วยการทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก เมื่อระบบเข้าสู่ภาวะสมดุลย์แล้ว ความดันเลือดก็กลับเป็นปกติ