โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน เป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง[1][2] การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน

โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อมโรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น

การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร

 

 

โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21[7] โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลกใน ค.. 2013 สมาคมแพทย์อเมริกาจัดความอ้วนเป็นโรคสาเหตุกรรมพันธุ์ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี

นิสัยจากการรับประทานอาหารคนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้

การไม่ออกกำลังกาย

 

ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย

  1. อารมณ์และจิตใจมีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจแต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
  2. ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหารเมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้นกินจุในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
  3. เพศผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และบางคนหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
  4. อายุเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
  5. กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
  6. ยาผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
  7. โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์

ดัชนีมวลกาย ดรรชนีมวลกาย (BMI: Body mass index)

ดัชนีมวลกาย อาจสะกดว่า ดรรชนีมวลกาย หรือเรียกทั่วไปว่า บีเอ็มไอ (BMI: Body mass index) คือ ค่าซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูง เป็นค่าที่นิยมใช้เป็นตัววินิจฉัยว่า ใครน้ำหนักตัวเกินหรือใครเป็นโรคอ้วน โดยหน่วยของน้ำหนักคิดเป็นกิโลกรัม และหน่วยของความสูงคิดเป็นเมตร

ค่าดัชนีมวลกายของแต่ละคนจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของคนๆนั้นหารด้วยความสูงยกำ ลังสอง ดังนั้นหน่วยของดัชนีมวลกายจึงเป็น กิโลกรัม/เมตร2 แต่โดยทั่วไปไม่นิยมใส่หน่วย

ค่าหรือเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีมวลกาย

ของคนเอเชียคือ 18.5 – 22.9

ส่วนของคนยุโรป (สากล) คือ 18.5 – 24.9

ซึ่งถ้าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หมายความว่า ผอม แต่ถ้าน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์แสดงว่า น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน โดยแบ่งเป็น ในชาวเอเชีย

อ้วนระดับ 1 เมื่อดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 23 – 24.9

อ้วนระดับดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 25 – 29.9

อ้วนระดับดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 และอ้วนรุนแรงที่สุด (อ้วนระดับ 4) ดัชนีมวลกายมากกว่า/
หรือเท่ากับ 40